อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็นอัจฉริยะด้านการเรียนรู้

วันที่ 18 มิถุนายน 2562 14:54 น.
facebook twitter google+ line

               ในช่วงชีวิตของอีลอน มัสก์ เขาสร้างธุรกิจที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ถึง 4 ธุรกิจ ซึ่งก็คือ เพย์พาล สเปซเอ็กซ์ และโซลาร์ ซิตี้ อีลอน มัสก์ทำงานอาทิตย์ละ 85 ชั่วโมง  เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ ความขยันและความมีวิสัยทัศน์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้อีลอน มัสก์ประสบความสำเร็จ บทความนี้ได้แนวคิดมาบทความภาษาอังกฤษที่เขียนโดยไมเคิล ซิมมอนส์มีชื่อบทความว่า How Elon Musk learns faster and better than everyone else?

 

               ไมเคิล ซิมมอนส์อธิบายว่ามัสก์แหกกฎความเชื่อแบบดั้งเดิมว่าการที่จะเป็นคนเก่งระดับโลก เราต้องโฟกัสไปที่การพัฒนาทักษะและความสามารถเพียงด้านเดียวให้โดดเด่น แต่เป็นคนที่เชี่ยวชาญในหลายๆด้าน เช่น ด้านการผลิตจรวด วิศกรรมกรรม การก่อสร้าง ฟิสิกส์ ปัญญาประดิษฐ์ และความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ เขาเรียกอีลอน มัสก์ว่าเป็นพหสูตร (Polymaths) คำว่า Polymath ในภาษาอังกฤษหมายถึงคนที่มีความรู้ในหลายๆด้านและเป็นคนที่รักการเรียนรู้จนสามารถเอาความรู้ด้านต่างๆที่มีไปแก้ปัญหาได้ ส่วนพหูสูตในภาษาไทยหมายถึงคนที่เรียนรู้มาก คนที่มีความทรงจำดี มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างลึกซึ้งจนสามารถขบคิดให้แตกเป็นทฤษฎีได้และสามารถนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ได้

 

              อะไรทำให้อีลอน มัสก์เป็นพหูสูตร อีลอน มัสก์ให้เวลากับการเรียนรู้สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เขาเป็นคนที่ศึกษาหาความรู้ในหลายๆด้านหลายๆสาขา เขาเป็นคนที่เข้าใจความรู้ในแต่ละสาขาไปถึงแก่นของความรู้นั้นๆและสามารถเอาความรู้ที่หลากหลายมาเชื่อมต่อกันได้ ไมเคิล ซิมมอนส์แนะนำให้เราเรียนรู้หลายๆด้านเพราะการมีความรู้หลายด้านช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ดีกว่า คนที่ประสบความสำเร็จและสร้างบริษัทระดับโลกขึ้นมาได้ต่างก็เป็นพหูสูตรไม่ว่าจะเป็นบิล เกตส์ สตีฟ จ็อบส์ วอร์เรน บัฟเฟตต์

 

             การเป็นมีความรู้หลายๆด้านเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ถ้าคุณอยู่ในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนก็จะอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี แต่ถ้าคุณมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาด้วย คุณจะมีไอเดียและแนวความคิดที่พิเศษที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแบบคุณได้ มีคนน้อยมากที่เรียนรู้เรื่องอื่นที่ไม่ใช่ความรู้ในสาขาอาชีพที่ตัวเองทำอยู่ จากคำบอกเล่าของน้องชายของมัสก์ มัสก์อ่านหนังสืออาทิตย์ละ 2 เล่มและอ่านหนังสือหลายๆประเภท เขาอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา การเขียนโปรแกรม ฟิสิกส์ การออกแบบ เทคโนโลยี และธุรกิจ อีลอน มัสก์เรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจไปถึงแก่นขององค์ความนั้นและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆจากองค์ความรู้เดิมที่เขามี

 

              มัสก์ศึกษาเรื่องการเงินกับการธนาคารและศึกษาการเขียนโปรแกรมจนเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลังจากนั้นเขาเอาองค์ความรู้เรื่องการเงินและการเขียนโปรแกรมมาสร้างธุรกิจที่ชื่อว่าเพย์พาลซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินและโอนเงินทางอินเตอร์เน็ต มัสก์ศึกษาเรื่องวิศวกรรมยานยนต์และเทคโลโลยีไฟฟ้าแล้วนำความรู้นี้ก่อตั้งบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีชื่อว่าเทสลา เขาศึกษาฟิสิกส์และวิศวกรรมโยธา มัสก์นำความรู้สองอย่างนี้มารวมกันและสร้างไฮเปอร์ลูป แคปซูลโดยสารที่เคลื่อนที่ในท่อที่ไม่มีแรงต้านอากาศซึ่งถ้าทำสำเร็จไฮเปอร์ลูปสามารถเดินทางด้วยความเร็ว 1,200 กม./ชม.  ไมเคิล ซิมมอนส์แนะนำว่าเราไม่ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง (specialist) แต่เราควรจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายๆด้านที่มีความรู้แบบกว้างขวาง (expert-generalist)